เคล็ดลับวิธีกินชาบูที่ถูกต้องให้อร่อยครบรสชาติตามต้นตำรับ
ไม่ว่าจะเป็นสุกี้ หรือชาบู-ชาบูต่างมีวิธีที่กินที่แตกต่าง จริงอยู่ที่การกินขึ้นอยู่กับสไตล์ใครสไตล์มัน แต่ถ้าอยากกินชาบูให้อร่อย เข้มถึงใจ ได้รสชาติของเนื้อนุ่มๆอย่างเน้นๆละก็ต้องทำตามวิธี และระเบียบการกินอย่างเคร่งครัด! มิฉะนั้นแล้วเนื้อวัวแสนแพงอาจจะไม่อร่อย และเสียของเปล่าประโยชน์ก็เป็นได้ ดังนั้นมาเรียนรู้กันดีกว่าว่าวิธีกินชาบู-ชาบูที่ถูกต้องตาม Japanese Style ต้องทำยังยังไง?!
รอสักนิด ใจเย็นสักหน่อย อย่าเร่งให้น้ำเดือด เอาแค่อุ่นๆพอ
ทันที่ที่นั่งลงในร้านชาบู-ชาบู พนักงานก็จะยกหม้อชาบูที่มีน้ำซุปมาเสิรฟ์ที่โต๊ะทันที และวางไว้บนเตาให้เรียบร้อยพร้อมรับประทาน แต่จุดนี้และที่คนส่วนใหญ่มักพลาดกัน หลายๆคนมักจะเลือกที่เปิดไฟให้แรงสุดเพื่อให้น้ำเดือด ประมาณว่าถ้าอาหารมาปุบ พร้อมที่จะใส่ปับกันเลยทีเดียว แต่วิธีนี้คือวิธีที่ผิดนะจ้ะสาวๆหนุ่มๆ เพราะการที่ปล่อยน้ำให้ค่อยๆเดือดต่างหากที่จะทำให้ชาบูอร่อย และได้รสชาติที่แท้จริงของน้ำซุป ดังนั้นควรเปิดไฟเบาๆ ให้น้ำอุ่นๆพอ แล้วค่อยใส่ผักหรือจุ่มเนื้อกันตามใจชอบ ต่างจากหม้อไฟของจีนที่มักจะปล่อยให้น้ำเดือด ชาบูไม่ควรเปิดไฟให้แรงจนน้ำเดือด แต่ควรเปิดไฟเบาๆ ปล่อยให้ผัก และเนื้อปล่อยรสชาติในตัวของมัน และซึบซับรสชาติของน้ำซุปดีกว่า
อีกหนึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชาบู-ชาบูคือ เวลาเติมน้ำในหม้อควรเป็นน้ำซุปชนิดเดิม และไม่ควรเติมน้ำเปล่า ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากหลายๆคนรู้สึกหงุดหงิดใจว่าทำไมเอาน้ำธรรมดามาเติมให้ แทนที่จะเป็นน้ำซุปสุดเข้มข้น ในความจริงแล้วแค่น้ำเปล่าก็เพียงพอแล้วที่จะคงไว้ซึ่งรสชาติที่พอดิบพอดี ไม่เปลี่ยนรสชาติในหม้อให้แปลกไปจากเดิม
เลือกให้ถูกว่าจะจุ่มเนื้อหรือต้มผัก
ร้านชาบู-ชาบูหลายแห่งในไทยหรือต่างประเทศที่ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นอาจจะมีที่คีบไว้บริการสำหรับผู้ที่ไม่ชอบให้ตะเกียบเลอะของสดเช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และทะเล แต่รู้ไหมหากจะกินชาบูให้ถูกต้องตามต้นตำรับต้องหัดใช้ตะเกียบซึ่งเป็นอาวุธคู่ใจยามกินชาบูให้คล่อง เพราะจะใช้ตะเกียบทั้งการปรุง และการกิน!
อีกทั้งการนำเนื้อไปจุ่มในน้ำซุปให้สุกนั้นควรจุ่มไม่เกิน 10 วินาทีนะจ้ะ และอย่าเอาเนื้อไปต้มเล่นให้เสียของซะละ มิฉะนั้นแล้วเนื้อจะเหนียว เคี้ยวไม่ออกนะจะบอกให้ ตามปกติแล้วเนื้อชาบูจะถูกสไลด์ให้บาง ดังนั้นการนำไปจุ่มเพียงแป๊ปเดียวก็ทำให้เนื้อสุกแล้ว จำคำนี้ไว้แล้วรับรองว่าเนื้อจะนุ่ม อร่อยจนสั่งเพิ่ม “จุ่มทีละชิ้นก็ฟินครั้งละคำ”
แต่หากเป็นผักสดแล้ว นำไปต้มได้เลย เพราะกว่าผักจะนุ่ม และเปื่อยก็ใช้เวลาหลายนาทีแล้ว แต่ผักแต่ละชนิดก็มีเวลาสุกของมันนะเช่น ผักกวางตุ้งจีน แครอท ผักกาดขาวควรใช้เวลาต้มอย่างน้อย 3 นาที ส่วนเส้นอุด้งไม่ควรต้มเกิน 1 นาทีก็สามารถรับประทานได้แล้ว แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทิ้งไว้ในหม้อได้เลยคือ เกี๊ยว เพราะกว่าจะสุกจะใช้เวลานานถึง 5 นาที กินผักชาบูต้องใจเย็นๆนะจ้ะถึงจะอร่อย!
SPONSORED
เลือกซอสให้ถูกแบบ จุ่มเนื้อให้ถูกวิธี
ตามต้นตำรับชาบู-ชาบูสไตล์ญี่ปุ่นแล้ว น้ำจิ้มชาบูจะมี 2 แบบให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นน้ำจิ้มพอนซึ ลักษณะใสๆสีน้ำตาล ไม่ข้นโดยรสชาติจะออกเปรี้ยวๆ หวานๆ แล้วแต่สูตรของทางร้าน อีกชนิดหนึ่งคือน้ำจิ้มงา สีจะขาวๆข้นๆ และรสชาติจะออกไปทางหวาน
แต่น้ำจิ้ม 2 ชนิดนี้ไม่ได้กินกับอะไรก็ได้นะจ้ะ เพราะน้ำจิ้มพอนซึจะกินเฉพาะกับผัก ส่วนน้ำจิ้มงาจะกินกับเนื้อเท่านั้น หลายคนอาจจะบ่นว่าทำไมยุ่งยากจังแค่กินชาบูเอง แต่อย่าเพิ่งเหนื่อยใจกันไปค่ะ ถึงแม้วิธีการจะเยอะ ยุ่งยากไปสักนิด แต่รับรองว่ารสชาติของเนื้อ และผักที่จิ้มน้ำจิ้มเฉพาะแบบแล้วจะอร่อย และเพิ่มรสชาติให้มื้ออาหารได้เป็นอย่างดี
อีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรพลาดคือ วิธีการจุ่มน้ำซอส อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่หากจุ่มผิดวิธี น้ำซอสแทนที่จะช่วยเพิ่มรสชาติกลับไม่ได้ทำหน้าที่มันซะงั้น หลายๆ คนที่เมื่อจุ่มเนื้อหรือตักผักเรียบร้อยแล้ว นำไปจุ่มน้ำซอส แล้วจึงรับประทาน วิธีนี้คือวิธีที่ถูกต้องค่ะ แต่จะมีบางคนที่ชอบราดน้ำซอสบนข้าว หรือบนเนื้อให้ชุ่ม วิธีนี้จะทำให้รสชาติของซอสเสียแล้ว ยังจะทำให้จานเลอะอีกดูไม่น่ากินต่อ และที่สำคัญ และไม่ควรทำเลยเด็ดขาดคือ การน้ำซอสทั้ง 2 ชนิดมาผสมกันค่ะ ไม่เพียงแต่เสียรสชาติ แต่เชฟญี่ปุ่นที่เห็นอาจจะเสียใจน้ำตาตกใจก็เป็นได้ที่เห็นคนไทยกินชาบูกับเขาไม่เป็น!
ขอพัก (เนื้อ) สักนิดไว้บนข้าวจะได้ไหม
ถึงแม้อาจจะเป็นเรื่องปกติที่จานเปล่าจะมาเสิรฟ์บนโต๊ะ และคนไทยหลายๆคนคงคุ้นเคยกับการน้ำเนื้อที่ยังร้อนๆ หรือผักที่ยังอุ่นๆมาพักไว้ก่อนรับประทาน ซึ่งวิธีนี้ก็ทำได้ค่ะ แต่จะดีกว่านี้หากเรานำเนื้อ และผักไปพักไว้บนข้าวเพื่อให้น้ำซุปที่ติดมาซึมลงไปในชั้นเนื้อข้าว และเพิ่มรสชาติให้ข้าวได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากน้ำซุปเหลือ และข้าวก็เหลือด้วย สามารถนำข้าวไปเทลงให้หม้อ เพิ่มไข่ คนให้ข้าวกันก็จะได้ข้าวต้มสไตล์ญี่ปุ่นค่ะ
Eat Up! กินให้เกลี้ยง อย่าให้อายโต๊ะข้างๆ
ขั้นตอนสุดท้ายของการกินชาบูให้ถูกต้องคือ กินทุกอย่างให้หมด อย่าให้เหลือ นอกจากจะเป็นการให้เกียรติพ่อครัว และแม่ครัวแล้ว ยังเป็นการไม่ทำให้เสียของอีกด้วย แต่สำหรับคนไทยแล้วขั้นตอนนี้ไม่ต้องฝึกเพราะกินหมดหม้ออยู่แล้ว!
การทานชาบูให้อร่อยจำเป็นต้องทานให้ถูกวิธีตามต้นตำรับด้วย! จึงจะทำให้สัมผัสความอร่อยแบบเต็มร้อย คราวหน้าหากมีโอกาสไปทานชาบูก็อย่าลืมทานให้ถูกวิธีนะคะ
ที่มา: zagat