5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอาหาร และสุขภาพ
เคยได้ยินไหมว่า “อย่าทานอันนี้” แต่ “ควรทานอันโน่น” แต่ความเชื่อบางอย่างก็มีสิทธิ์ผิดได้ มาดูกันว่า 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอาหาร และสุขภาพมีอะไรบ้าง
ความเชื่อ#1: บริโภคอาหารที่มี “โปรตีนสูง” ส่งผลเสียต่อไต
ที่มาของความเชื่อ: ในปี 1983 ได้มีการค้นพบว่าการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูงจะส่งผลให้ระดับอัตราการกรองของไต (glomerular filtration rate) สูงขึ้น
โดยค่า GFR คืออัตราที่เลือดไหลผ่านไต ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของไตที่เลือดจะไหลเวียนเข้าไต โดยนำของเสีย และของเหลวทั้งหมดผ่านหน่วยที่เล็กที่สุดของไต และเมื่อถึงท่อไตของเหลว สารบางอย่างจะถูกดูดซึมกลับเข้ามายังกระแสเลือด ในขณะที่ส่วนที่ไม่ได้ดูดซึมจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
หลังจากการค้นพบนี้ ได้ก่อให้เกิดความเชื่อที่ว่าหากค่าอัตราเลือดไหลผ่านไตสูง(เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง)จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์: เอาเข้าจริงแล้ว ถึงแม้อาหารที่มีโปรตีนสูงจะเพิ่มค่า GFR หรือค่าอัตราเลือดผ่านไตสูงก็จริง แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการทำงานของไตแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์โดยนักวิจัยชาวดัทช์เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
ฝากไว้ให้คิด: เลือกทานโปรตีนให้เท่ากับน้ำหนักตัวที่ต้องการ เช่น หากคุณหนัก 200 ปอนด์ และอยากจะลดให้เหลือสัก 180 ปอนด์ สิ่งที่ควรทำคือเลือกทานโปรตีน 180 กรัมต่อวัน แต่หากคุณหนัก 150 ปอนด์ แต่อยากเพิ่มให้เป็น 180 ปอนด์ก็ต้องบริโภคโปรตีน 180 กรัมต่อวันเช่นเดียวกัน
ความเชื่อ#2: มันเทศให้ประโยชน์มากกว่ามันฝรั่งธรรมดา
ที่มาของความเชื่อ: ความเชื่อนี้เกิดจากการที่ชาวอเมริกันส่วนมากบริโภคแต่มันฝรั่งที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น เฟรนช์ฟราย และมันฝรั่งทอด ดังนั้นจึงโยงการบริโภคมันฝรั่งคู่กับความอ้วน และความเสี่ยงในเป็นโรคเบาหวาน
ในขณะเดียว มันเทศถูกมองว่าให้ประโยชน์มากกว่า ในแง่ของสารอาหาร และมีค่า Gylcemic Index (Gl) หรือดัชนีไกลซีมิก “ต่ำ” โดยดัชนีไกลซีมิกเป็นดัชนีที่ใช้ตรวจวัดคุณภาพของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตว่าเมื่อร่างกายมีการย่อย และดูดซึมแล้วสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสได้มากหรือน้อย และหากอาหารมีค่า GI ต่ำซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลต่ำก็จะดีต่อผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
ดังนั้นมันเทศจึงถูกมองว่ามีประโยชน์มากกว่า เพราะมีค่า GI ต่ำกว่ามันฝรั่งธรรมดา
ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์: ในความจริงแล้วทั้งมันฝรั่งธรรมดา และมันเทศมีสารอาหารที่แตกต่างกัน และไม่มีอันไหนมีคุณค่ามากกว่าอีกอัน ยกตัวอย่างเช่น มันเทศมีไฟเบอร์ และวิตามิน A ก็จริง แต่มันฝรั่งธรรมดาก็มีแร่ธาตุสูง เช่น เหล็ก แมกนีเซียม และโพแทสเซียม
ในส่วนของค่า GI หรือดัชนีไกลซีมิก มันเทศมีค่าต่ำกว่าก็จริง แต่มันฝรั่งธรรมดาที่นำไปอบโดยไม่มีส่วนประกอบของชีส sour cream หรือเนยมีค่า GI ต่ำเช่นเดียวกัน (หากมีส่วนประกอบที่กล่าวมานั้น จะทำให้ค่า GI ของมันฝรั่งสูงขึ้น)
ฝากไว้ให้คิด: ไม่ต้องค่อยกังวลว่าจะเลือกทานชนิดไหนดีระหว่างมันเทศ และมันฝรั่ง เพราะแต่ละชนิดก็มีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ต้องกังวลมากกว่าคือการเลือกประเภทว่าจะทานมันฝรั่งอบแบบไม่ผสมอะไรเลยหรือมันฝรั่งแปรรูป เช่นเฟรนชฟรายหรือแผ่นมันฝรั่งทอด
ความเชื่อ#3: เนื้อแดงก่อให้เกิดมะเร็ง
ที่มาของความเชื่อ: ในปี 1986 นักวิจัยชาวญี่ปุ่นค้นพบว่า สารมะเร็งมีการพัฒนาในหนูที่บริโภคสารประกอบเฮทเทอโรไซคลิกเอมีน (heterocyclic amines) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากการปรุงเนื้อให้สุกโดยใช้ความร้อนสูง ผลคือมีงานวิจัยอีกหลายงานที่เชื่อมโยงการบริโภคเนื้อก่อให้เกิดมะเร็ง
ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์: ไม่มีงานวิทยาศาสตร์ใดๆ ระบุว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อแดง และสารก่อให้เกิดมะเร็ง
ฝากไว้ให้คิด: ใครชอบทานเนื้อย่างไม่ต้องกังวลว่าจะทานแล้วเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตามก่อนทานพวกเนื้อย่าง ควรจะเล็มหรือตัดส่วนที่ไหม้ออกก่อนจะรับประทาน
SPONSORED
ความเชื่อ#4: น้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุ๊กโตสสูงทำให้อ้วนกว่าน้ำตาล
ที่มาของความเชื่อ: ในปี 1968 ได้มีการทดลองในหนูโดยให้หนูบริโภคน้ำตาลที่มีปริมาณฟรุ๊กโตสสูง โดยส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดของหนูให้สูงขึ้น และต่อมาในปี 2002 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย University of California ได้ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับการบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุ๊กโตสสูงของชาวอเมริกันว่ามีผลต่อโรคอ้วน
ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์: ทั้งน้ำเชื่อมข้าวโพด และน้ำตาลซูโครส (sucrose) หรือที่รู้จักในชื่อของน้ำตาลทราย ทั้งสองชนิดมีค่าของฟรุ๊กโตสเกือบเท่าๆ กัน โดยค่า HFCS หรือ High-fructose corn syrup (HFCS) ของน้ำเชื่อมข้าวโพดคือ 42 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่น้ำตาลทรายมี 55 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นจึงไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่บ่งชี้ว่าระหว่างน้ำเชื่อมข้าวโพด และน้ำตาลทรายควรบริโภคอันไหนมากกว่า เพราะทั้งสองชนิดนั้นมีผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นหากบริโภคเกินพอดี
ฝากไว้ให้คิด: ไม่ควรบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินไป และควรลดการบริโภคน้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่ให้ความหวาน และของหวาน(ที่พร้อมทาน เช่น ไอศกรีมถ้วย คุกกี้ และผลไม้อัดแท่งเป็นต้น)
ความเชื่อ#5: เกลือส่งผลให้ความดันเลือดมีค่าสูง และควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเด็ดขาด
ที่มาของความเชื่อ: ในยุค 1940s นายแพทย์ Walter Kempner ซึ่งเป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Duke University ได้ทำการทดลองโดยควบคุมปริมาณการบริโภคเกลือในกลุ่มผู้ที่มีความดันเลือดสูง และมีการยืนยันว่าการลดปริมาณการบริโภคเกลือมีผลต่อการลดค่าความดันโลหิต
ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์: ไม่มีข้อบ่งชี้หรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่เสนอว่าคนที่มีความดันเลือดปกติควรควบคุมการบริโภคปริมาณโซเดียม แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การรับประทานเกลือแต่ “น้อย” จะส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าแต่ไม่ได้ห้ามกินเลย เพราะเป็นที่ทราบกันดีกว่า 20 ปีแล้วว่าสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแต่ไม่อยากลดปริมาณเกลือสามารถบริโภคโพแทสเซียมแทนได้ เพราะร่างกายต้องการแร่ธาตุทั้งสองเพื่อสร้างความสมดุล
ฝากไว้ให้คิด: อยากจะลดเกลือต้องหันไปบริโภคโพแทสเซียมแทน เช่น ผักโขม บร็อคโคลี มันฝรั่ง และถั่วชนิดต่างๆ ที่มีโพแทสเซียมสูงกว่า 400 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค
ที่มา: menshealth